Unconscious Mind – จิตไร้สำนึก

จิตไร้สำนึก (Unconscious Mind) คือส่วนของจิตใจที่มีกระบวนการทำงานที่ไม่ได้รับการตระหนักรู้ แต่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของมนุษย์ แนวคิดเรื่องจิตไร้สำนึกนี้ได้รับการพัฒนาและให้ความสำคัญอย่างมากในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาตะวันตก แนวคิดเรื่องจิตไร้สำนึกมีมาก่อน ฟรอยด์ แต่เขาเป็นผู้ที่ทำให้แนวคิดนี้เป็นรูปเป็นร่างในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ฟรอยด์เชื่อว่าจิตนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ จิตสำนึก (Conscious mind) จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) และจิตไร้สำนึก (Unconscious mind) จิตสำนึกคือส่วนที่เรารับรู้ ส่วนจิตใต้สำนึกคือข้อมูลที่ไม่อยู่ในจิตสำนึกขณะนั้นแต่สามารถเรียกกลับมาได้ง่าย ส่วนจิตไร้สำนึกนั้นเก็บความคิด ความทรงจำ แรงขับ และ ความปรารถนา ที่อยู่ในตัวเราไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของมนุษย์เรา

ลักษณะสำคัญของจิตไร้สำนึก ได้แก่
1. เป็นแหล่งสะสมอารมณ์ แรงขับ ความปรารถนาต่างๆ ที่ฝังลึกอยู่ในตัวเรา
2. ทำงานอยู่เบื้องหลังระดับจิตใต้สำนึกและจิตสำสึก มีอิทธิพลและควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำต่างๆ โดยที่เราไม่ตระหนักรู้
3. เป็นที่มาของแรงจูงใจ ความปรารถนา และความขัดแย้งภายในจิตใจ ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบสัญลักษณ์หรือพฤติกรรม ความคิด ความต้องการที่เราไม่เข้าใจ

ฟรอยด์เชื่อว่าการทำความเข้าใจกับจิตไร้สำนึกและนำสิ่งที่ฝังอยู่ในส่วนลึกนั้นขึ้นสู่ระดับจิตสำนึก จะช่วยให้มนุษย์เข้าใจตนเองและสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น

อ้างอิง:
Freud, S. (1923). The Ego and the Id. SE, 19: 1-66.
Westen, D. (1998). The scientific legacy of Sigmund Freud: Toward a psychodynamically informed psychological science. Psychological Bulletin, 124(3), 333–371.
Erdelyi, M. H. (1985). Psychoanalysis: Freud’s cognitive psychology. W.H. Freeman & Co.